วันพฤหัสบดีที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

การพัฒนาคุณภาพการศึกษาสำหรับผู้ที่มีความต้องการจำเป็นพิเศษทางการศึกษา

แนวคิดหลักการ
บุคคลมีความแตกต่างกัน หากต้องการให้จัดการศึกษาเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพต้องคำนึงถึงลักษณะดังกล่าวดังเช่นผู้ด้อยโอกาสและผู้พิการทั้ง 9 ประเภท

ขั้นตอนการดำเนินงาน
-แต่งตั้งคณะกรรมการ
-ประชุมคณะกรรมการ
-พัฒนาครูเพื่อให้มีความรู้ในเรื่องการจัดการศึกษาพิเศษ
-คัดกรองผู้เรียนเป็นรายบุคคล
-พัฒนาคุณภาพผู้เรียนโดยใช้เครื่องมือและกระบวนการที่มีประสิทธิภาพตามแผนการจัดการศึกษาเฉพาะบุคคล อันได้แก่ สื่อ สิ่งอำนวยความสะดวก การวิจัยในชั้นเรียน
-สรุปผลการดำเนินงานเป็นรายสถานศึกษาในรูปแบบรายงานการวิจัย

ผลการดำเนินงาน

เชิงปริมาณ - มีการประชุมคณะกรรมการจำนวน 7 ครั้ง
- สามารถพัฒนาครูให้มีความรู้ในเรื่องการจัดการศึกษาพิเศษได้ จำนวน 117 คน

เชิงคุณภาพ
- สามารถคัดกรองผู้เรียนและจัดทำข้อมูลเป็นรายบุคคลที่มีรายละเอียดลักษณะของอาการตามแบบคัดกรอง KUS-SI และแบบคัดกรองของสำนักงานการศึกษาพิเศษได้ จำนวน 734 คน โดยข้อมูลเป็นรายบุตคคลดังกล่าวมีรายละเอียดลักษณะอาการครบถ้วนสามารถนำไปใช้ประโยชน์ในการพัฒนาผู้เรียนได้อย่างถูกต้องชัดเจน
- สามารถพัฒนาคุณภาพผู้เรียนได้โดยใช้เครื่องมือและกระบวนการวิจัยในชั้นเรียน
-2-
- มีรายงานผลการดำเนินงานเป็นรายโรงเรียน

การนำไปใช้ประโยชน์

- นำข้อมูลนักเรียนรายบุคคลไปใช้ในการขอตั้งงบประมาณและจัดสรรงบประมาณให้กับสถานศึกษา
- นำข้อมูลพัฒนานักเรียนเป็นรายบุคคลตามลักษณะอาการที่ปรากฎอยู่ในข้อมูลการคัดกรองผู้เรียน
- สามารถสืบค้นข้อมูลนักเรียนรายบุคคลรายโรงเรียนและภาพรวมของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาราชบุรี เขต 1
- สามารถให้บริการข้อมูลกับส่วนราชการ หรือองค์กรเอกชนได้อย่างเหมาะสมและมีประสิทธิภาพ

ความยุ่งยากในการดำเนินงาน/ปัญหา/อุปสรรค

- ไม่มีใครต้องการเป็นผู้พิการทุกคนต้องการเป็นคนเก่ง คนดี ดังนั้นงานลักษณะนี้ต้องทำงานกันอย่างเป็นความลับ แต่ความลับทำให้งานไม่ชัดเจนในสายตาคนดูและในสภาพข้อเท็จจริงจากงานวิจัยพบว่ามีผู้พิการอยู่ในสังคมถึงร้อยละ 5 เป็นอย่างน้อยแต่ในปัจจุบันก็ยังไม่สามารถพัฒนาบุคคลเหล่านี้ได้อย่างครบด้าน การพัฒนางานจึงเป็นไปได้ไม่ครอบคลุม
-มีผู้สนใจงานลักษณะนี้ไม่มากนักคนจำนวนมากขอบทำงานกับคนเก่งงานจึงยังไม่พัฒนาเท่าที่ควร
บุคลากรของสถานศึกษาบางแห่งไม่มีความพร้อมในการปฏิบัติหน้าที่ เนื่องจากยังไม่มีความรู้และไม่พยายามหาความรู้ในเรื่องดังกล่าว
-บุคลากรที่ได้รับการอบรมไม่ชี้แจงให้ระดับผู้บริหารหรือผู้ที่เกี่ยวข้องให้เข้าใจโดยละเอียด

ข้อเสนอแนะ
- สถานศึกษาควรมีการประชุมชี้แจงหรือขยายผลความรู้ในเรื่องการจัดการศึกษาพิเศษให้อย่างทั่วถึงและครอบคลุม

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น